วันศุกร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2566

ใช้เครื่อง e-Reader พิมพ์งานและการติดตั้งแป้นพิมพ์บลูทูธ

มีคนถามเรื่องการใช้ Android e-Reader สำหรับพิมพ์งาน (นิยาย) ว่าจะไหวไหม เลยถ่ายวิดีโอให้เขาดู และไหนๆ ก็ถ่ายมาแล้ว ก็เลยมาเขียนบล็อกไว้ เวลามาค้นจะได้ค้นง่ายๆ หน่อย

เครื่อง Android e-Reader นั้นสามารถติดตั้งแอปเพิ่มได้ ทำให้นำมาใช้พิมพ์งานได้เหมือนกันโดยมีข้อดีคือการมองหน้าจอแบบ e-Ink นานๆ แล้วไม่ล้าสายตาเพราะคล้ายกับการมองหน้ากระดาษ



วันจันทร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

[สัพเพเหระ] ของฝากจากญี่ปุ่น

พี่สาวที่รู้จักกันกลับมาจากญี่ปุ่น แวะมาเยี่ยมคุณแม่ ให้ขนมเป็นของฝาก เลยมาบันทึกเก็บไว้หน่อยว่าเคยกินเจ้านี่ ฮ่า

ของฝากจากญี่ปุ่น แต่ไม่รู้ว่าเป็นผลิตภัณฑ์จากประเทศไหนนะ รสชาติอร่อยดี แต่หวานมากจนตัวเองกินไม่ไหว 😅


วันพฤหัสบดีที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

[สัพเพเหระ] รองเท้ามรดก

พี่ชายให้รองเท้ามาเมื่อสองสัปดาห์ก่อน มรดกตกมาเป็นทอดๆ ซักกันหนักอยู่ ฮ่าๆ 😆 เลยมาจดบันทึกเก็บไว้ จะได้จำได้ว่ารับมาเมื่อไหร่



วันศุกร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

[LibreOffice Writer] การใช้ formatting mark เพื่อจัดรูปแบบเอกสาร

ในการจัดหน้าเอกสาร แล้วเจอกรณีที่โปรแกรมตัดคำเพื่อขึ้นบรรทัดใหม่ไม่ตรงกับที่ควรจะเป็น เช่นแทนที่จะติดกันก็ไปจับแยก หรือคำที่ควรต้องแยก แต่ดันจับติดกัน วิธีแก้ปัญหาแบบง่ายๆ ก็อย่างเช่น ปรับเปลี่ยนเป็นคำใหม่ / เพิ่ม-ลดคำ / บังคับขึ้นบรรทัดใหม่ (manual line break) / บีบความกว้างของตัวอักษรหรือระยะห่างระหว่างตัวอักษร


ซึ่งวิธีการเหล่านี้มันสามารถใช้แก้ปัญหาแบบเฉพาะหน้าได้จริงนั่นแหละ เพียงแต่ถ้าเอาเอกสารนี้ไปใช้งานอื่นต่อ อย่างเช่นแก้ไขเนื้อหา ปรับเปลี่ยนขนาดตัวอักษร หรือปรับหน้ากระดาษใหม่ มันจะส่งผลที่ไม่พึงประสงค์ เช่นถูกบังคับขึ้นบรรทัดใหม่ทั้งๆ ที่ยังมีที่ว่างเหลืออยู่

วันพฤหัสบดีที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

[LibreOffice Writer] ลบการขึ้นหน้าใหม่ การขึ้นบรรทัดใหม่ บรรทัดว่าง และการกดแท็บ

การทำเอกสารนั้น บางครั้งมีความจำเป็นที่ต้องแทรกการบังคับขึ้นหน้าใหม่ (manual page break) การบังคับขึ้นบรรทัดใหม่ (manual line break) และการกดแท็บ (tab mark) แต่หลังจากแทรกไปแล้วบางทีจะต้องลบเอาพวกนี้ทิ้ง ซึ่งในกรณีที่เป็น MS Office Word ค่อนข้างจะทำได้ง่าย คือสั่งค้นหา ^m ^p ^t แล้วแทนที่ด้วยความว่าง

แต่ในกรณีของ LibreOffice Writer นั้น การลบเครื่องหมายบังคับขึ้นหน้าใหม่ เป็นอะไรที่ทำไม่ได้ จำเป็นต้องใช้ extension ที่ชื่อ AltSearch (Alternative Find & Replace for Writer) มาช่วย แต่ extension นี้ไม่ได้อัปเดตมาหลายปีมากแล้ว (ล่าสุดคือ 1.4.2) และ LibreOffice Writer รุ่นที่ผมใช้คือ 7.6.2.1 ซึ่ง AltSearch มันไม่สามารถจัดการกับ manual page break ได้แล้ว (แต่ยังจัดการกับอักขระพิเศษอื่นๆ ได้อยู่) ซึ่งด้วยความที่ปกติแล้วเอกสารที่ผมทำงานจะไม่มีการใส่ manual break มา ผมเลยไม่รู้ว่ามันใช้ไม่ได้มาตั้งแต่เวอร์ชันอะไร


วันพุธที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

โปรแกรมจดโน้ตด้วยลายมือ Stylus Labs' Write

เห็นข่าว [Blognone] OneNote Win32 เพิ่มฟีเจอร์จดด้วยปากกาแล้วแปลงเป็นข้อความ ซึ่งฟีเจอร์ที่รู้สึกว่าน่าสนใจก็คือ

pen-to-text จดโน้ตด้วยปากกา แล้วแปลงลายมือเป็นข้อความ โดยจะมีปุ่มปากกาสีเทา เพิ่มเข้ามาในแท็บ Draw

ปกติก็ไม่ได้สนใจฟีเจอร์แบบนี้หรอก เพราะมันไม่รองรับ Thai OCR นั่นแหละ เท่าที่เคยทดลองใช้มา ก็มีบน tablet ของ Samsung ที่ใช้งานได้ดีเลย

ด้วยความที่ทุกวันนี้มีตัว Graphic Tablet อยู่แล้ว เลยรู้สึกสนใจอยากลองดู ไปค้นดูว่าบน Linux มีโปรแกรมอะไรแบบนี้บ้างไหม แล้วก็ไปเจอเข้า Stylus Labs’ Write เป็นโปรแกรมฟรี (แต่ไม่ open source) มีให้ใช้งานได้ทั้ง Windows, Mac, Linux, Android, iOS

แต่น่าเสียดายที่โปรแกรมนี้ยังไม่สามารถแปลงลายมือให้เป็นข้อความได้ คือมันเก็บเป็นลายเส้นเลยนั่นแหละ


วันจันทร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2566

[LibreOffice Writer] เปลี่ยน template ให้กับเอกสารที่สร้างไว้แล้ว

โดยปกติแล้วเวลาสร้างเอกสารขึ้นใหม่ ถ้าเราไม่ได้เลือก template อะไร มันจะเลือก default.ott โดยอัตโนมัติ แต่ถ้าอยากสร้างเอกสารที่เป็นรูปแบบที่เรากำหนดเอง (ขนาดหน้ากระดาษ, ระยะขอบ, แบบและสไตล์ของตัวอักษร ฯลฯ) ก็จะเลือกที่เมนู File / New / Templates... (หรือกด Shift + Ctrl + N) ก็จะมีรายการ template ขึ้นมาให้เลือก ซึ่งจะมีทั้งที่มากับโปรแกรมและที่เราสร้างไว้เอง

แต่ในกรณีที่เราเคยสร้างเอกสารไว้แล้ว และต้องการจะเปลี่ยน template ในภายหลัง โดยปกติแล้วจะทำไม่ได้ จำเป็นต้องใช้ส่วนเสริม extension ชื่อว่า Document Template Changer ซึ่งใช้งานได้ทั้ง Writer, Calc, Draw, Impress

เวอร์ชันล่าสุดของ extension นี้คือ 2.0.1 (ตั้งแต่ปี 2020) ผมใช้งานกับ LibreOffice 7.2.x.x ได้ไม่มีปัญหา


วันอาทิตย์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2566

การแปลงฟอร์แมตเอกสารด้วยโปรแกรม Pandoc (ตอนที่ 1)

Pandoc เป็นโปรแกรมฟรีสำหรับแปลงเอกสารในรูปแบบต่างๆ ที่ใช้งานได้ทั้งบน Windows, Mac และ Linux ( ดาวน์โหลด)

รูปแบบเอกสารที่แปลงได้นั้นมีมากมายหลายฟอร์แมต อย่างเช่น markdown, html, ePUB, docx, odt, rtf, LaTeX, csv, pdf หรือแม้แต่เอกสารในรูปแบบที่เราสร้างขึ้นเองก็ยังได้ ( รูปแบบเอกสารที่รองรับ)

วิธีการติดตั้งสำหรับ Linux

sudo apt install pandoc

วันเสาร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2566

รวม text file หลายๆ ไฟล์ให้เป็นไฟล์เดียว ด้วยคำสั่งเดียว

วิธีการเอา text file หลายๆ ไฟล์ มารวมให้เป็นไฟล์เดียว โดยไม่ต้องมาเปิดไฟล์แล้วคัดลอกมาแปะด้วยมือทีละไฟล์ๆ

ตัวอย่างสำหรับเหตุการณ์นี้ อย่างเช่นในกรณีที่เอาเนื้อหานิยายแต่ละตอน แปลงให้เป็น .md (markdown) มาแล้ว และต้องการเอามารวมให้เป็นไฟล์เดียว เพื่อจะแปลงเป็น html

วิธีการคือสร้าง directory แล้วโยนทุกไฟล์ไปใส่ที่เดียวกันให้หมด ตั้งชื่อให้เป็นตัวเลขเรียงตามลำดับ จากนั้นเปิด terminal แล้ว cd เข้าไปใน directory จากนั้นก็ใช้คำสั่ง

for file in *.txt; do (cat "${file}"; echo) >> output.xxx; done

วันศุกร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2566

แปลง Markdown ให้เป็น HTML บน Ubuntu

ปกติเวลาแปลง markdown เป็น html ถ้าเป็นไฟล์งานเขียนที่ทำเป็นเรื่องเป็นราว จะแปะลงในโปรแกรม PHP ที่เขียนเอาไว้ แต่ถ้าเป็นไฟล์สั้นๆ ก็จะใช้เว็บแปลงเอา อย่างเช่น

https://markdowntohtml.com

แต่ทีนี้ เวลาต้องการจะแปลงไฟล์หลายๆ ไฟล์ หรือไฟล์ยาวๆ การจะเอาไปแปะเพื่อแปลงในเว็บ หรือในโปรแกรมที่เขียนเอง มันก็เสียเวลามาก

พอไปลองค้นดู ก็พบว่าในดิสโทร Ubuntu based อย่าง Linux Mint มีโปรแกรมสำหรับแปลงอยู่หลายตัว

วันอาทิตย์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2566

แปลงไฟล์ Docx ให้เป็น Markdown

การจัดการเอกสารในกรณีที่เอกสารมีจำนวนหน้าและตอนเยอะๆ นี่ (อย่างเช่นนิยาย) ตอนหลังตัวเองใช้เป็น Markdown เพราะว่าเวลาเอาไปทำงานต่อ อย่างเช่นแปลงเป็น ePUB จะทำได้ค่อนข้างสะดวก ไม่มีพวกรหัสส่วนเกินมาวุ่นวาย ซึ่งการจะทำเป็น ePUB มันก็คือ html นั่นแหละ

เว็บสำหรับแปลง markdown เป็น html แบบออนไลน์ คัดลอกข้อความไปแปะ แล้วก็กดปุ่ม convert

https://markdowntohtml.com

วันอังคารที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2566

ลบรหัสผ่านของไฟล์ PDF ใน Linux Mint (Ubuntu)

ลบรหัสผ่านที่ว่านี้ ไม่ได้หมายถึงเอาไฟล์ PDF ที่ไม่รู้รหัสมาลบออกนะ แต่หมายถึงไฟล์ PDF ที่ถูกป้องกันด้วยรหัสผ่าน และเรามีรหัสผ่านสำหรับเปิด แต่มันต้องมาใส่รหัสทุกครั้ง (โปรแกรมเปิด PDF บางโปรแกรม สามารถตั้งค่าให้จำรหัสผ่านได้)

กระบวนการทำนี้ ทำบนคอมพิวเตอร์ที่ใช้ Linux MINT (Ubuntu based)

วิธีการที่ง่ายที่สุดคือตอนที่เปิดไฟล์ PDF ขึ้นมา ก็สั่งปรินท์เป็น PDF แต่ส่วนใหญ่ไฟล์จากวิธีการนี้จะมีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าเดิม

วันพฤหัสบดีที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2566

แอปแป้นพิมพ์บลูทูธสำหรับพิมพ์ภาษาไทยบนมือถือแอนดรอยด์ More Physical Keyboard Layouts

ตอนที่เอาโทรศัพท์มือถือ (หรือแท็บเล็ต) ระบบ Android มาต่อกับแป้นพิมพ์บลูทูธ บางครั้งก็เจอปัญหาว่าพิมพ์ไทยไม่ได้ หรือสลับภาษาไปพิมพ์ไทยไม่ได้ วิธีแก้คือติดตั้งแอปแป้นพิมพ์เพิ่มเข้าไปก่อน ซึ่งในปัจจุบันมีอยู่ไม่มากนักที่รองรับภาษาไทยและยังอัปเดตอยู่

หนึ่งในแอปตัวที่ใช้งานได้ดีในปัจจุบัน ก็มี More Physical Keyboard Layouts ที่สามารถติดตั้งได้จาก Play store ได้โดยตรง จึงค่อนข้างสะดวกและวางใจเรื่องความปลอดภัยได้ วิธีการสลับภาษาคือใช้ ctrl + space

แต่แอปนี้ใช้กับมือถือ Samsung ไม่ได้ เพราะว่า Samsung ล็อกเอาไว้



ตัวเลือกแป้นพิมพ์ภาษาไทยของแอป ก็จะมี เกษมณี (Kedmanee) และ ปัตตะโชติ (Pattachote) ตามมาตรฐานนั่นแหละ

วันพุธที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2566

ซื้อสวิตช์มาเปลี่ยนให้แป้นพิมพ์ Royal Kludge RK-84

ซื้อแป้นพิมพ์ Machaincal Keyboard ยี่ห้อ Royal Kludge RK-84 มาเมื่อช่วงสิ้นปี 2564 ใช้ไปยังไม่ทันจะครบปี สวิตช์ก็เริ่มออกอาการว่ากดแล้วเบิล บางทีก็กดไม่ติด ซึ่งจาก ประสบการณ์ที่เคยใช้ mechanical keyboard มา ก็เตรียมใจไว้แล้วว่ามันไม่ค่อยทนเท่าไหร่ แต่ที่ยังซื้อก็เพราะแป้นพิมพ์เป็นแบบ hot swap ที่ถอดสวิตช์เปลี่ยนได้

แรกๆ ก็ใช้วิธีถอดสลับกับปุ่มที่ใช้ไม่บ่อย แต่มันก็เริ่มออกอาการหลายปุ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนตอนนี้เลยตัดสินใจว่าซื้อสวิตช์มาเปลี่ยนเลยก็แล้วกัน

เห็นสวิตช์ยี่ห้อ Royal Kludge ราคาไม่สูงมาก 35 ตัว ราคา 109 บาท (Shopee) ก็เลยสั่ง blue switch กับ brown switch มาลองใช้ดู แต่ก็เตรียมใจไว้ว่าคุณภาพก็ตามราคานั่นแหละ


วันอังคารที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2566

แปลงไฟล์ PDF ให้เป็นรูปภาพ (PNG / JPG) ด้วย pdftopmm

แปลงไฟล์ pdf ให้เป็นรูปภาพนี่ ในเว็บออนไลน์บริการฟรี มีอยู่หลายเว็บ แต่ตอนหลังรู้สึกว่าไม่ค่อยสะดวก เลยหาโปรแกรมที่ใช้งานบนเครื่อง ก็ไปเจอเอา pdftoppm แต่ต้องทำงานใน terminal ที่จริงก็อยากได้แบบ gui แหละ แต่ยังไม่ได้หาแบบจริงจัง

วิธีการติดตั้ง

sudo apt install poppler-utils

วันพุธที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2566

แปลงรูปภาพให้เป็น pdf

ใช้ ImageMagic

convert *.jpg output.pdf

หรือถ้าแบบไม่ต้องมานั่งจำคำสั่ง คือใช้โปรแกรม gScanToPDF ใน Linux Mint นี่มีอยู่ใน Software Manager เรียบร้อยแล้ว

แต่ถ้าใช้ดิสโทรอื่นที่ไม่มีมา ก็ใช้วิธีติดตั้ง gScanToPDF ตามนี้ (ใน terminal)

1. ติดตั้ง PPA (สำหรับ Ubuntu 16.04, 18.04, 19.10, 20.04, Linux Mint 18.x, 19.x)

sudo add-apt-repository ppa:jeffreyratcliffe/ppa

2. ติดตั้งโปรแกรม

sudo apt update && sudo apt install gscan2pdf

3. ถ้าต้องการลบโปรแกรม ก็สั่งว่า

sudo apt-get remove --autoremove gscan2pdf


ตอนแรกที่ใช้ ก็งงๆ อยู่บ้าง เพราะการลากไฟล์ลงไป ไม่ใช่ลากลงไปที่กลางจอ (บริเวณแสดงเนื้อหาเอกสาร) แต่ให้ลากไปที่ช่องด้านซ้าย ที่แสดงรายการของแต่ละภาพ


วันเสาร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

ไฟล์ site config ของ FileZilla ใน Linux Mint

ข้อมูลการเชื่อมต่อเว็บไซต์ใน FileZilla จะบันทึกไว้ในไฟล์ sitemanager.xml ซึ่งโดยปกติเราสามารถ export ออกมาได้ เวลาตอนที่ไปตั้งค่าในคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ก็สั่ง import เข้าไปได้เลย ไม่ต้องมาตั้งค่ากันใหม่ (ยิ่งถ้ามีหลายเว็บที่ต้องจัดการ ก็ยิ่งเหนื่อย)

รอบก่อนหน้านี้เป็นเพราะระบบเดี้ยงไป ยังไม่ทันได้ export ออกมา ก็เลยต้องไปค้นไฟล์นี้จากใน folder ออกมา ซึ่งดูเหมือนว่าบางดิสโทรมันอยู่คนละที่กัน