โดยปกติแล้วการทำต้นฉบับหนังสือที่มีเชิงอรรถแทรกอยู่ด้วยเพื่อนำไปใช้กับไฟล์เอกสาร (docx) และเผยแพร่บนหน้าเว็บ (เช่นพวกนิยายรายตอน) ด้วยนั้น วิธีการทำแบบง่ายๆ ก็มักจะใช้การใส่ [n] แทรกลงไป แล้วในท้ายตอนแต่ละตอนก็จะใส่คำอธิบายเอาไว้ ตามที่เรามักจะเห็นจากพวกเว็บนิยายแปลจีนรายตอนทั้งหลาย
วิธีแบบนี้สามารถทำต้นฉบับได้สะดวกก็จริง แต่เวลาที่เราอ่านในรูปแบบ ePUB แล้วจะไม่สะดวกตรงที่เมื่อเจอการอ้างเชิงอรรถแล้วเราอยากรู้ความหมาย ก็ต้องเลื่อนไปท้ายตอนเพื่ออ่าน พออ่านเสร็จก็ต้องย้อนกลับไปยังจุดที่อ่านค้างไว้อีกที
ที่จริงแล้วไฟล์ ePUB นั้นมีฟีเจอร์ทำต้นฉบับที่สามารถคลิกลิงก์ได้ พอเราคลิกที่ข้อความที่ทำเชิงอรรถไว้ คำอธิบายที่เกี่ยวข้องก็จะแสดงขึ้นมาในหน้านั้นๆ เลย โดยไม่ต้องย้อนกลับไปกลับมาอีก
การทำเชิงอรรถแบบที่สามารถคลิกได้นั้น ถ้าหากเรามีต้นฉบับที่ทำเชิงอรรถด้วยวิธีการข้างต้นอยู่แล้ว เราก็เพียงแค่ค้นหาและแทนที่เพียงสองขั้นตอน ก็เป็นอันเสร็จสิ้น ซึ่งวิธีการทำมีขั้นตอนดังนี้
※ การค้นหา จะต้องเลือกโหมด Regex และ All HTML Files
[1. แก้ไขเชิงอรรถท้ายตอน]
สั่งค้นหา
<p(.*?)>\[(\d*)\](.*?)</p>
ePUB3 แทนที่ด้วย
<aside class="footnote" id="fn\2" epub:type="footnote"><p><a href="#fnref\2" role="doc-backlink">[↩︎ \2]</a> \3</p></aside>
ePUB2 แทนที่ด้วย
<aside class="footnote" id="fn\2"><p><a href="#fnref\2" role="doc-backlink">[↩︎ \2]</a> \3</p></aside>
[2. แก้ไขเชิงอรรถในเนื้อหา]
สั่งค้นหา
\[(\d*)\]
ePUB3 แทนที่ด้วย
<a href="#fn\1" class="footnote-ref" epub:type="noteref" id="fnref\1" role="doc-noteref">[\1]</a>
ePUB2 แทนที่ด้วย
<a href="#fn\1" class="footnote-ref" id="fnref\1" role="doc-noteref">[\1]</a>
[3. เพิ่มการจัดรูปแบบในไฟล์ css]
จากนั้นในส่วนของ css ก็เพิ่มการจัดรูปแบบเข้าไปดังนี้
/* เชิงอรรถ */
.footnote a {
font-size: 0.9em;
text-decoration: none;
vertical-align: super;
}
.footnote p {
font-size: 0.9em;
margin-bottom: 1em;
margin-left: 3em;
text-indent: -2em;
}
.footnote-ref {
font-size: 0.7em;
padding: 0 0.2em;
text-decoration: none;
vertical-align: super;
}
เพียงเท่านี้ก็เป็นอันเสร็จสิ้น
[ Keywords ]
Sigil, ePUB, ebook, footnote, เชิงอรรถ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น