วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2567

[FFMpeg] แปลงวิดีโอให้เป็นรูปภาพด้วย ffmpeg

โปรแกรม ffmpeg นอกจากจะแปลงไฟล์ภาพเป็นวิดีโอ ฝังซับไตเติ้ล ฯลฯ แล้ว ก็ยังสามารถแปลงไฟล์วิดีโอให้เป็นรูปภาพได้ด้วย การสั่งงานใช้รูปแบบคำสั่งว่า

ffmpeg -i input.mp4 -vf fps=1 out-%d.png

fps=1 หมายถึงให้ทำไฟล์ภาพละ 1 วินาที ถ้าหากวิดีโอเป็นแบบ 30 fps แล้วต้องการให้สร้างไฟล์ภาพออกมาทุกเฟรม ก็ใช้ว่า fps=30

out%d คือจะสร้างภาพด้วยชื่อไฟล์ว่า out- แล้วตามด้วยตัวเลข เช่น out-1.png out-2.png out-3.png ไปเรื่อยๆ แต่ถ้าต้องการให้ใส่ตัวเลขนำหน้าด้วย เช่นทำตัวเลขให้เป็น 4 หลัก ก็เขียนเป็น %04d เช่น out-%04d.png ก็จะได้เป็น out-0001.png out-0002.png out-0003.png


[ Reference ]

FFMPEG- Convert video to images


[ Keyword ]

แปลงวิดีโอเป็นรูปภาพ, convert video to image, convert video to picture, convert video to png, convert video to jpg

วันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2567

แปลงเอกสารด้วย Pandoc (ตอนที่ 3)

ก่อนหน้านี้เคยเขียนบล็อกเรื่องการแปลงเอกสารด้วย Pandoc ไปทั้ง ตอนที่ 1 และ ตอนที่ 2 แล้ว หลังจากที่พบว่าโปรแกรม Pandoc ที่ผมใช้อยู่มันเป็นเวอร์ชันที่เก่าแล้ว (2.7.x) มี bug เรื่องการแปลงฟอร์แมต markdown นิดหน่อย คือตัว ~~ ไม่แปลงเป็นตัวขีดฆ่า และไม่แปลงตัวหนาตัวเอนใน docx (แต่แปลงให้ใน odt) ก็เลยไปอัปเดตให้เป็น เวอร์ชันล่าสุด (วันที่เขียนบล็อก ล่าสุดคือเวอร์ชัน 3.3.1 - 29 Jul 2024) ซึ่งเวอร์ชันนี้มีบางจุดเปลี่ยนไปจากรุ่นก่อน เลยต้องมาเขียนบันทึกเพิ่ม

ผมใช้ Linux Mint (Ubuntu based) เลยดาวน์โหลดไฟล์ pandoc-3.3-1-amd64.deb มาติดตั้ง ถ้าใช้ Windows, Mac ก็เลือกตามระบบที่ใช้

การตรวจสอบเวอร์ชันของ Pandoc ที่ติดตั้งในเครื่อง ให้พิมพ์ว่า

pandoc --version

ถ้ามีเวอร์ชันก่อนหน้าติดตั้งเอาไว้ ต้องลบของเดิมออกถึงค่อยติดตั้งเวอร์ชันใหม่ โดยพิมพ์ในเทอร์มินัลว่า

sudo apt remove pandoc


วิธีการติดตั้ง โดยปกติจะดับเบิลคลิกไฟล์เพื่อเปิด package installer ให้ติดตั้งได้เลย แต่ถ้าไม่ได้ ก็ใช้วิธีติดตั้งผ่านเทอร์มินัล โดยพิมพ์ว่า

sudo dpkg -i ไฟล์ติดตั้งที่ดาวน์โหลด


เวอร์ชันที่ผมใช้ก่อนหน้านี้ การแปลงเป็น markdown กับ plain (text ข้อความธรรมดา) มันจะตัดแบ่งบรรทัดให้อัตโนมัติ ถ้าไม่อยากให้มันแบ่งต้องใส่ --wrap=none ไว้ด้วย เช่น

pandoc -t markdown-smart --wrap=none file-in.docx > file-out.md

หากแปลงเป็น html มันจะไม่ตัดบรรทัดให้ และผมก็เคยชินแบบนั้น แต่หลังจากที่อัปเดตมาเป็นเวอร์ชัน 3.3.1 ก็เจอว่าตอนแปลงเป็น html มันก็ตัดบรรทัดให้ด้วย ดังนั้นจึงต้องใส่แท็ก --wrap=none ไว้เช่นกัน

วันอังคารที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2567

[Google Sheets] ใช้ Google Sheets สร้าง QR Code แบบง่ายๆ

เราสามารถใช้ Google Sheets สร้าง QR Code แบบง่ายๆ ด้วยบริการจากเว็บ ซึ่งมีให้ใช้หลากหลายเว็บ บางเว็บจะมีฟีเจอร์เพิ่มเติม เช่น เปลี่ยนสีหรือทำพื้นหลังโปร่งใส ซึ่งต้องไปอ่านคู่มือของแต่ละเว็บดู ตัวอย่างเว็บที่มีบริการให้ใช้งานก็เช่น

https://quickchart.io/qr?text=test

https://api.qrserver.com/v1/create-qr-code/?data=test

https://qrcode.tec-it.com/API/QRCode?data=test

[ Keywords ]

QR Code, qrcode, Google Sheet, Google Sheets


วันเสาร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2567

การใส่ข้อมูลหนังสือ (metadata) ในไฟล์ ePUB ด้วยโปรแกรม Sigil

การใส่ข้อมูลหนังสือ (metadata) ลงในไฟล์ ePUB ก็เพื่อให้เราค้นหาหนังสือได้ง่ายและสะดวกต่อการจัดเก็บให้เป็นหมวดหมู่ ซึ่งอันที่โปรแกรมที่เราใช้เปิดอ่านหลายๆ ตัวจะสามารถเพิ่มข้อมูลเข้าไปได้เหมือนกัน หรือเราเอาไปเพิ่มในโปรแกรม Calibre ก็ได้

แต่กรณีที่เราสร้างไฟล์ ePUB ขึ้นเองด้วย Sigil เราก็สามารถใส่ลงไปได้เลยโดยไม่ต้องไปผ่านโปรแกรมอื่นๆ อีก

ข้อมูลจำเป็นที่ควรต้องใส่คือ ชื่อหนังสือ, ชื่อผู้เขียน (ผู้แปล), ภาษาที่ใช้

ข้อมูลเพิ่มเติมอื่นๆ ก็มี สำนักพิมพ์, แท็ก, ชุด (กรณีมีหลายเล่ม)

วันพฤหัสบดีที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2567

แก้ปัญหาอัปเดต libapt-pkg5.0

สั่งอัปเดต Calibre ไม่ได้อีกแล้ว (ในเครื่องโน้ตบุ๊กที่เป็น Elementary OS 5.1) มันขึ้นว่า

2024-08-08 12:52:33 URL:https://download.calibre-ebook.com/linux-installer.sh [34312/34312] -> "-" [1]

Using python executable: /usr/bin/python3

Your system has GNU libc version 2.31. The calibre binaries require at least version: 2.35 (released on 2022-02-03). Update your system.

เลยใช้วิธีเดิม  แก้ปัญหาอัปเดต Calibre ไม่สำเร็จ ที่เคยแก้ปัญหา ก็ปรากฏว่าแก้ไม่ได้

วันจันทร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2567

ติดตั้งไดรเวอร์สแกนเนอร์ Canon Pixma G2010

โน้ตบุ๊กตัวที่เป็น elementary OS 6.1 Jólnir (built on Ubuntu 20.04 LTS) เคยติดตั้งไดรเวอร์ของเครื่องปรินท์ Canon Pixma G2010 ตั้งแต่หลายปีก่อน จำวิธีติดตั้งไม่ได้ล่ะ ผลคือใช้ปรินท์ได้ แต่สแกนไม่ได้


ด้วยความที่สมัยก่อนไม่ได้มีอะไรที่จะสแกนมากนัก เลยไม่ได้หาวิธีต่อ ไปใช้เครื่องคอมฯ ที่เป็น Windows สแกนแทน

ช่วงสองปีที่ผ่านมาเริ่มมีเก็บภาพเอกสารเป็นดิจิทัล แต่ใช้วิธีการถ่ายภาพเอา แล้วสัก 2 เดือนมานี้เริ่มต้องการคุณภาพที่ดีขึ้น เลยปรับวิธีการถ่ายภาพเก็บ

ตอนแรกใช้แอป vFlat ที่นิยมสำหรับการถ่ายหนังสือเพื่อทำไฟล์ pdf แต่มันมีข้อเสียคือทำให้สัดส่วนไฟล์เอกสารเบี้ยว ต่อมาก็เริ่มมาใช้เครื่องสแกนเนอร์ของ printer ตัวประจำที่ใช้อยู่ แต่ต้องไปสแกนผ่านคอมฯ ที่เป็นระบบ Windows

แล้ววันนี้เลยนึกว่าลองหาวิธีทำให้เจ้าเครื่องปรินท์ตัวนี้สามารถแสแกนบน Linux ได้ดูอีกทีละกัน ค้นไปค้นมาแล้วลองทำตามดู โอเค…ใช้ได้!

เลยมาจดบันทึกขั้นตอนเอาไว้

วันพุธที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2567

แท่นพัดลมวางโน้ตบุ๊ก

โน้ตบุ๊กตัวที่ใช้ในปัจจุบัน (Asus X550Z) ออกตั้งแต่ปี 2557 อายุเฉียดสิบปีเต็มที อัปแรมจาก 4GB เป็น 8GB กับเปลี่ยนมาใช้ SSD ทำให้ยังพอใช้งานต่อได้

แต่ช่วงที่ผ่านมา เจอปัญหามันดับไป 2-3 รอบล่ะมั้ง คาดว่าอาจจะเป็นปัญหาจากพัดลมระบายความร้อน เพราะจับดูแล้วเครื่องร้อนจี๋ ช่องระบายอากาศอาจเจอฝุ่นทำให้ระบายได้ไม่ดี แต่ก็ไม่กล้าแกะ เพราะแกะค่อนข้างลำบาก ตอนช่วงโควิดมีปัญหาเรื่องแบต พอแงะออกมาก็ทำสายแพร์หลุด ยัดกลับไม่ได้ หมดปัญญา แถมยังทำสายแพร์พังอีกต่างหาก (สายเล็กจิ๋วมาก) เลยไม่กล้าแงะอีก

ก่อนหน้านี้เอาพัดลมเป่าใส่ใต้เครื่อง ล่าสุดลืมเป่า ดับอีกแล้ว

ครั้งนี้ทนไม่ไหว เลยสั่งซื้อแท่นวางโน้ตบุ๊กแบบพัดลม 6 ตัวมาลองใช้ดู จาก Shopee ราคา 350 รวมค่าส่งเป็น 379


วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2567

สำนวนจีน ห้าบุปผาแปดสำนัก ห้าดอกไม้แปดประตู (五花八门)

แปลนิยายเรื่อง 异度乐园 (อี้ตู้เล่อเอวี๋ยน - พิภพเทวะสุขาวดี) ตอนที่ 116 ผลตอบแทนมหาศาล แล้วเจอคำศัพท์นี้ ตอนแรกว่าจะใส่ลงไปในเชิงอรรถ แต่ถ้าใส่ทั้งหมดก็จะยาวเกินไป ครั้นตัดทิ้งไปเฉยๆ ก็เสียดาย เลยมาจดบันทึกเอาไว้ที่นี่ละกัน


ห้าบุปผาแปดสำนัก ห้าดอกไม้แปดประตู (五花八门) ในสำนวนจีนโบราณเดิมทีหมายถึง “ห้าธาตุแปดชัยภูมิ” เป็นพิชัยสงครามที่ชื่อว่า กลยุทธ์ “ห้าลักษณ์แปดทิศ”

ห้าลักษณ์ ประกอบด้วย : ไม้ (木) ไฟ (火) ดิน (土) โลหะ (金) และ น้ำ (水)

แปดทิศ คือทิศทางทั้งแปดของชัยภูมิที่มั่น (ออก ตก เหนือ ใต้ และทิศเฉียง)


วันเสาร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2567

แปลงเอกสารด้วย Pandoc (ตอนที่ 2)

ก่อนหน้านี้เขียนบล็อกเรื่อง การแปลงฟอร์แมตเอกสารด้วยโปรแกรม Pandoc เอาไว้ แต่ด้วยความที่เขียนในรูปแบบบันทึกกันลืม และเขียนรวมกับการทำต้นฉบับเพื่อเอาไปทำ ePUB ด้วย เลยอ่านแล้วจะดูงงๆ หน่อย

ตอนนี้เลยมาชำระเขียนใหม่เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น เน้นเฉพาะการใช้ Pandoc เพื่อแปลงไฟล์โดยตรง

Pandoc คือโปรแกรมเอาไว้สำหรับแปลงเอกสารในรูปแบบต่างๆ ที่ใช้งานได้ฟรี ถึงแม้ว่าต้องพิมพ์คำสั่งเอาเอง ไม่ใช่ปุ่มกดใช้งานแบบสำเร็จรูป แต่สามารถแปลงเอกสารได้หลายฟอร์แมต ทำให้สะดวกต่อการทำ ePUB มาก

คำสั่งต่างๆ มีตัวเลือกเยอะมาก ไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ → คู่มือการใช้งานเพิ่มเติม , ชนิดของไฟล์ที่แปลงได้


1. การดาวน์โหลดและติดตั้ง

1.1 ถ้าเป็น Windows หรือ Mac ไปโหลดได้จาก ดาวน์โหลด Pandoc

1.2 ถ้าเป็น Linux ให้ติดตั้งจาก terminal โดยพิมพ์ว่า

sudo apt install pandoc


แก้ปัญหาอัปเดต Calibre ไม่สำเร็จ

โดยปกติแล้วโปรแกรม Calibre ที่เอาไว้สำหรับจัดการ e-book ในคอมฯ เวลาที่มีเวอร์ชันใหม่ออกมา มันจะแจ้งเตือนให้รู้ พอกดที่อัปเดต มันจะพาไปเว็บ

https://calibre-ebook.com/download_linux

แล้วในนั้นก็จะบอกว่าการอัปเดต ให้ใส่คำสั่ง

sudo -v && wget -nv -O- https://download.calibre-ebook.com/linux-installer.sh | sudo sh /dev/stdin

โดยปกติก็ใช้วิธีนี้มาตลอด ทีนี้วันดีคืนดี อยู่ๆ ก็ดันอัปเดตไม่ได้ซะงั้น ขึ้นว่า

Using python executable: /usr/bin/python3

2024-06-15 09:14:00 URL:https://download.calibre-ebook.com/linux-installer.sh [34233/34233] -> "-" [1]

You are missing the system library libxcb-cursor.so.0. Try installing packages such as libxcb-cursor0 or xcb-cursor