วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เครื่องอ่านอีบุ๊ก Sony Reader Wi-Fi (PRS-T1)

หลังจากที่ตัดสินใจเลือกเครื่องอ่านอีบุ๊กจากหลายรุ่นหลายค่าย ทั้ง Kindle Touch, Nook Simple Touch With GlowLight, Kobo, Sony Reader Wi-Fi (PRS-T1) ซึ่งแต่ละรุ่นต่างก็มีข้อดีข้อด้อยที่แตกต่างกันออกไป


ในที่สุดคนที่ต้องการซื้อ (คุณเพื่อน) ก็ได้ตกลงใจเลือกเป็นเจ้า Sony Reader Wi-Fi นี่แหละ




หลังจากสั่งซื้อไปแล้วรออยู่เดือนกว่า ในที่สุดคนที่ฝากหิ้วก็เดินทางกลับมาถึงเมืองไทยเสียที พร้อมกับอีบุ๊กรีดเดอร์ 3 ตัวที่ฝากหอบหิ้ว ฮ่า มีทั้ง Kindle 4 Basic, Kindle Touch แล้วก็เจ้า Sony Reader Wi-Fi


ที่คุณเพื่อนเธอเลือกเป็น Sony Reader Wi-Fi (PRS-T1) ก็เพราะหลงคารมการเชียร์ ฮ่า (^ ^)


ก่อนหน้านี้เชียร์ Nook Simple Touch with GlowLight อยู่ เพราะจุดขายอยู่ที่มีไฟในตัว อ่านในที่มืดได้ แต่มีจุดขัดใจสำคัญที่ทำให้ไม่เลือก คือรายชื่อหนังสือภาษาไทยจะแสดงเป็นตัวสี่เหลี่ยม รวมทั้งจัดแบ่งหนังสือเป็นหมวดหมู่ไม่ได้ (_ _')


สุดท้ายเปลี่ยนมาเชียร์ตัวนี้เพราะเรื่องคุณสมบัติการอ่านไฟล์ pdf ที่เหนือกว่า Kindle ในเรื่องการ crop หน้าสำหรับอ่าน, หน้าแสดงรายการหนังสือที่แสดงรูปภาพหน้าปกมาให้ด้วย, อ่าน ePub ภาษาไทยได้ (ต้อง root ก่อน), มีปากกาให้เขียนหน้าจอด้วย (ยังหาวิธีใช้ไม่เป็น)


คุณเพื่อนเธอได้ของแล้วก็เอา Kindle 4 Basic ที่ฝากซื้อด้วยกันเอามาให้ แล้วก็เอา Kindle Touch ของเพื่อนอีกคน กับ Sony Reader ของตัวเองมาให้ตั้งค่าให้ (ที่ฝากหิ้วกลับมารอบเดียวกันทั้งหมดนี่แหละ)

แรกเห็นเจ้า Sony Reader นี่ อืม… สีขาว เครื่องสวยดี หน้าตาดูดีมีสไตล์กว่าเจ้า Kindle ที่ใช้อยู่พอสมควรเลย

แต่สิ่งที่รู้สึกขัดๆ นิดหน่อย คือเรื่องปุ่มสั่งงานที่อยู่ด้านล่างเครื่อง คือเวลาเรียกเมนู หรืออ่านหนังสือเนี่ย จะจิ้มจอภาพได้เลย แต่พอต้องกดปุ่ม back, ปุ่ม home มันต้องมากดส่วนที่เป็นปุ่ม เลยรู้สึกฝืนๆ นิดหน่อย

เจ้าตัวนี้หน้าจอสัมผัสไม่รู้ว่าใช้เทคโนโลยีอะไร เพราะไม่ใช่ทั้งจอแบบ Capasitive หรือ Resitive จะใช้อะไรไปจิ้มจอก็ได้ ทั้งอวัยวะและสิ่งของโดยไม่ต้องออกแรงกด ไม่แน่ใจว่าจะเป็น infrared แบบเดียวกับ Kindle Touch หรือเปล่า แต่รู้สึกว่าทำงานเรื่อง touch ได้ดีกว่า Kindle แฮะ

เดี๋ยวไว้อีกซักพักคงจะจับ root เพื่อลงแอพที่อ่านหนังสือตัวอื่นที่อ่าน ePub ภาษาไทยได้ (Sony Reader นี่เป็นระบบ Android น่ะ พอ root แล้วจะเอาแอพของ Android มาติดตั้งได้) เพราะตัว reader ที่มากับเครื่องมันแสดงตัวหนังสือไทยเป็นสี่เหลี่ยม แต่รายชื่อหนังสือนั้นแสดงเป็นตัวไทยได้ปกติดีล่ะ

ถ้าขยัน จะมาเขียนบันทึกเปรียบเทียบระหว่าง Sony Reader กับ Kindle 4 Basic ที่ตัวเองใช้อยู่ ว่าดีด้อยต่างกันยังไง ถ้าขยันนะ ฮ่า (^_^')a

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น