วันอังคารที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

เมาส์ปากกา XP-Pen Star 03

ก่อนนี้เคยใช้เมาส์ปากกามาใช้เมื่อนานมาแล้ว (Genius MousePen i608X) แต่ว่าหลังจากเปลี่ยนมาใช้ Linux ก็ไม่สามารถใช้เจ้า i608X นี่ได้อีกเลย เคยพยายาม search หาวิธีแก้ปัญหาเพื่อให้มันใช้งานได้ แต่ไม่ประสบผล ^^'a

[Genius MousePen i608X]

ช่วงหาข้อมูลเพื่อแก้ปัญหาเนี่ย เลยรู้ว่ามีคนใช้งานเมาส์ปากกา (Graphic Tablet) บน Linux ไม่ได้กันเยอะมาก (ยี่ห้ออื่นๆ ด้วย) เพราะปัญหาจากไดร์เวอร์



หลังจากนั้นเลยไม่ได้คิดจะใช้งานมันอีก (เคยคิดไว้ว่า ถ้าจะซื้ออีก คงไป Wacom)

แต่ว่า... ช่วงที่สนใจหาข้อมูลเพื่อซื้อปากกาหมึกซึม (ซื้อมาแล้ว (><)v) ก็ไปเจอร้านขายเมาส์ปากการาคาไม่สูงมากนัก พอลองหาข้อมูลดู เฮ้ย ใช้บน Linux ได้!! และมีไดรเวอร์ด้วย GREAT!!

รุ่นที่ตอนนั้นเห็นคือ XP-Pen Star G640 ราคา 1,590 ขนาดพื้นที่ใช้งานคือ 6x4 นิ้ว ปากการองรับแรงกดได้ 8192 ระดับ ตัวปากกาไม่ต้องใส่ถ่าน (ของเก่า Genius MousePen i608X คือ 8x6 นิ้ว แรงกด 2048 ต้องใส่ถ่านที่ปากกาด้วย แถม mouse ไร้สาย แต่ต้องวางใช้บนแท่น tablet เท่านั้น)



ตอนแรกก็ว่าจะซื้อล่ะ แต่พอดูๆ ไป อ้าว มีรุ่น Star 03 ราคา 2,490 ขนาด 10x6 นิ้ว เลยเลือกเป็นตัวนี้มาแทน เย้!!





ตอนติดตั้ง เจอปัญหาว่าไม่สามารถใช้งานได้ T-T
หาดูเจอทวิตเตอร์ของบริษัท เลยสอบถามไป แต่ปรากฏว่า แก้ปัญหาได้เองล่ะ ^^'a
(https://twitter.com/HudchewMan/status/1125583343494385666)

หลังจากลองใช้งานแล้ว ความรู้สึกก็โอเคอยู่นะ ต้องใช้เวลาปรับตัวนิดหน่อย แต่แรงกด 8192 ระดับนี่มันไม่รู้สึกเลย T-T

ไดร์เวอร์เวอร์ชัน Linux ที่ใช้อยู่ พบว่า ไม่สามารถปรับแรงกดได้เอง (สำหรับคนมือหนักเบาไม่เท่ากัน) ต้องไปตั้งค่าเอาเองในโปรแกรมที่ใช้งาน, ไม่สามารถใช้บางปุ่มเป็น hot key ได้, ไม่สามารถ map ขนาดหน้าจอได้

ความลำบากในการวาดรูปด้วยเมาส์ปากกาคือ
1. ตามองจอภาพ ไม่ได้มองมือ
2. ระยะทางของการขยับมือ ไม่ตรงตามการวาดลงกระดาษปกติ

ทิปสำหรับคนที่ไม่ค่อยชินกับการวาดลงบนแผ่น tablet เพราะผิวสัมผัส ผมใช้วิธีเอากระดาษ A4 มาวางบนหน้า tablet เวลาวาดก็จะเหมือนเราเขียนอยู่บนกระดาษจริงๆ (><) กระดาษเก่า หรือเยิน ก็แค่เปลี่ยนเอาแผ่นใหม่มาวาง ฮา

เจ้าเมาส์ปากกาตัวนี้ ขนาดใหญ่พอควร (10 x 6 นิ้ว) วางแล้วเต็มโต๊ะทำงานเลย ^^'a

ในที่สุดก็มีเมาส์ปากกามาใช้งานแล้ว น้ำตาจะไหล ฮ่าๆ

เอาไว้ค่อยมารีวิวเพิ่ม (><)


* * * อัปเดต 20 ธันวาคม 2562 * * *
วิธีการติดตั้งไดรเวอร์


วิธีการติดตั้งไดรเวอร์
  1. ค้นคำว่า xp-pen star 03 driver download แล้วจะได้เว็บ https://www.xp-pen.com/download-42.html เลื่อนลงมาล่างสุดจะเห็นไดรเวอร์เวอร์ชัน Linux จัดการ download มาซะ
  2. แตกซิป แล้วโยนไปเก็บไว้ให้เป็นที่เป็นทาง
  3. เปลี่ยน permission ของไฟล์ Pentablet_Driver.sh และ Pentablet_Driver ให้สามารถ exec ได้ (755 หรือ 777)
  4. เปิด terminal แล้วพิมพ์ sudo จากนั้นลากไฟล์ Pentablet_Driver.sh มาใส่
  5. เมื่อเปิดขึ้นมาแล้ว สามารถตั้งค่าปุ่มต่างๆ เพื่อการใช้งานได้
  6. ต้องเรียกใช้งานโปรแกรมนี้ก่อน ถึงจะสามารถใช้งานปากกาได้ วิธีเรียกใช้งานต้องพิมพ์ผ่าน terminal โดยของผมตอนนี้พิมพ์แบบนี้ sudo '/home/hudchewman/disk/driver/xp-pen/Linux_Pentablet_V1.2.11/Pentablet_Driver.sh'



เลือกตั้งค่าปุ่มตามที่ถนัด แต่เวอร์ชันลินุกซ์นี่ ใช้บางปุ่มบนแป้นพิมพ์สำหรับตั้งค่าใน key ไม่ได้ (ลองเวอร์ชันวินโดวส์แล้วมันใช้ได้)

และด้วยขนาดของแท่นวาด ที่เป็น 10x6 นิ้ว มันเป็น ratio 10:6 = 5:3 = 15:9 ซึ่งขนาดหน้าจอที่ผมใช้อยู่เป็น 16:9 มันเลยทำให้มุมการขยับข้อมือเพื่อวาดเส้นโค้งต่างๆ ไม่สัมพันธ์กับหน้าจอ และไดรเวอร์ลินุกซ์เลือกขนาดการ map หน้าจอไม่ได้ (T-T)

อีกจุดหนึ่งที่ไม่ค่อยสะดวกสำหรับผมคือ ตำแหน่งของสายมันเสียบอยู่ด้านซ้ายของแท่นวาด แต่เคสคอมพิวเตอร์ของผมมันอยู่ด้านขวามือ ครั้นจะเปลี่ยน mode การทำงานจาก Right Mode เป็น Left Mode ปุ่มกดของแท่นวาดมันจะมาอยู่ด้านขวามือแทน ทำให้เวลาใช้งาน ข้อมือมันก็จะไปวางทับปุ่มแล้วกดโดยไม่ตั้งใจ

เท่าที่ลองใช้มาระยะหนึ่ง ผมใช้งานหลักๆ อยู่สามโปรแกรม เรียงตามลำดับการใช้บ่อยคือ
  1. Inkscape 
  2. Gimp
  3. Krita
 พบว่า Inkscape กับ Gimp มีปัญหาขลุกขลักว่าบางทีใช้แท่นวาดไม่ได้ ต้องไปปิดการตั้งค่าในโปรแกรมแล้วเปิดตั้งค่าใหม่อีกที (เพิ่งพบว่าถ้าเปิดโปรแกรม Inkscape ก่อนเรียกใช้แท่นวาด จะใช้งานได้โดยไม่ต้องตั้งใหม่)
และน้ำหนักปากกาก็ไม่ค่อยเห็นผลเท่าไหร่ แต่พอใช้กับ Krita นั้นลื่นไหลดีมาก และน้ำหนักของปากกาแสดงผลอย่างชัดเจน เป็นอะไรที่เข้าคู่กันลงตัวสุดๆ

เสียดายที่ไดรเวอร์ลินุกซ์ปรับน้ำหนักปากกาจากไดรเวอร์ไม่ได้ ต้องไปตั้งค่าในโปรแกรมใช้งานแต่ละตัวเอาเอง

[Keyword]
เมาส์ปากกา, Mouse Pen, Graphic Tablet, XP-Pen, Star 03

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น